วันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561



วิชา เทคโนโลยีสาระสนเทศและการสื่อสาร

นางสาวศิริลักษณ์ หิรัญ
ปวส.1 .ชอD6












บทที่ 12 
การแก้ไข ตกแต่ง และการฉายสไลด์จากโปรแกรมการนำเสนอผลงาน





การเปลี่ยนสีพื้นหลังของสไลด์ของคุณ
นำไปใช้กับ: PowerPoint 2016 , PowerPoint 2013
สิ่งสำคัญ:  บทความนี้เป็นการแปลด้วยเครื่อง โปรดดู ข้อจำกัดความรับผิดชอบ โปรดดูบทความฉบับภาษาอังกฤษ ที่นี่ เพื่อใช้อ้างอิง
ถ้าคุณตัดสินใจว่าคุณต้องการเพิ่มความคมชัดระหว่างพื้นหลังและข้อความบนสไลด์ของคุณ คุณก็สามารถเปลี่ยนสีพื้นหลังเป็นสีที่ไล่ระดับหรือสีทึบที่แตกต่างกันได้



เมื่อต้องการนำสีทึบไปใช้กับพื้นหลังของคุณ ให้ทำดังต่อไปนี้



1.คลิกขวาสไลด์ที่คุณต้องการเพิ่มสีพื้นหลัง จากนั้น คลิกจัดรูปแบบพื้นหลัง >สีเติมแบบทึบ
เคล็ดลับ: เมื่อคุณคลิกขวาสไลด์ ตรวจสอบให้แน่ใจว่า คุณไม่ได้กำลังคลิกภายในข้อความหรือพื้นที่ที่สำรองไว้อื่น ๆ

2.เลือกสี จากนั้น เลือกสีที่คุณต้องการ


เมื่อต้องการใช้สีพื้นหลังที่ไม่ได้อยู่ในสีของธีม เลือกสีเพิ่มเติม แล้วเลือกสีบนแท็บมาตรฐาน หรือผสมสีของคุณเองบนแท็บกำหนดเอง นั้นควรจดบันทึกว่า สีบนแท็บมาตรฐาน และสีที่กำหนดเองจะไม่อัปเดถ้าคุณเปลี่ยนแปลงเอกสารธีม ในภายหลัง
3.เมื่อต้องการเปลี่ยนความโปร่งใสของพื้นหลัง ให้ปรับตัวเลื่อน ความโปร่งใส
คุณสามารถปรับเปอร์เซ็นต์ของความโปร่งใสได้ตั้งแต่ 0% (ทึบแสงสูงสุด ซึ่งเป็นค่าเริ่มต้น) ไปจนถึง 100% (โปร่งใสสูงสุด)
4.เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
เมื่อต้องการใช้สีกับภาพนิ่งที่คุณเลือก เลือกปิด
เมื่อต้องการใช้สีกับภาพนิ่งในงานนำเสนอของคุณทั้งหมด เลือกนำไปใช้กับทั้งหมด

เมื่อต้องการนำสีไล่ระดับไปใช้กับพื้นหลังของสไลด์ ให้ทำดังต่อไปนี้
1.คลิกขวาสไลด์ที่คุณต้อง การเพิ่มสีพื้นหลังการไล่ระดับสีแล้ว เลือกพื้นหลังรูปแบบ >สีเติมไล่ระดับ
2.เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
เมื่อต้องการใช้สีที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ชนิด และทิศทางของการไล่ระดับสี ให้คลิก การไล่ระดับสีที่กำหนดไว้ แล้วเลือกตัวเลือกที่ต้องการ



3.เมื่อต้องการกำหนดแบบแผนชุดสีไล่ระดับเอง ให้ทำดังนี้


ภายใต้จุดเปลี่ยนการไล่ระดับสี เลือกหยุดการไล่ระดับแรก (แสดงด้วยหมายเลข1 ในไดอะแกรมด้านล่าง)
คลิกสี ลูกศรลง และเลือกสีของธีม หรือสีมาตรฐาน
เคล็ดลับ: เลือกสีเพิ่มเติม สำหรับตัวเลือกสีมาตรฐานเพิ่มเติม หรือเมื่อต้อง การสร้างสีแบบกำหนดเอง

เมื่อต้องการปรับความครอบคลุมสีไล่ระดับ คลิ กและลากการหยุดไปทางขวาหรือซ้าย หรือคุณสามารถตั้งค่าเปอร์เซ็นต์แบบเพิ่มเติมได้ ด้วยการย้ายตำแหน่ง ขี้นและลงเพื่อเปอร์เซ็นต์ที่คุณต้องการ

ทำแบบเดียวกันสำหรับใด ๆ อื่น ๆ ไล่ระดับสี (แสดงไว้ 4 ในไดอะแกรมตัวอย่างด้านบน)
4.ปรับ ความสว่าง ตามต้องการ
5.เมื่อต้องการเปลี่ยนความโปร่งใสของพื้นหลัง ให้ปรับตัวเลื่อน ความโปร่งใส
คุณสามารถปรับเปอร์เซ็นต์ของความโปร่งใสได้ตั้งแต่ 0% (ทึบแสงสูงสุด ซึ่งเป็นค่าเริ่มต้น) ไปจนถึง 100% (โปร่งใสสูงสุด)
6.เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
เมื่อต้องการใช้สีเฉพาะกับภาพนิ่งที่เลือก ให้คลิก ปิด
เมื่อต้องการใช้สีกับภาพนิ่งทั้งหมด ให้คลิก นำไปใช้กับทั้งหมด

การตั้งค่าการกำหนดเวลาและความเร็วของการเปลี่ยนภาพ
นำไปใช้กับ: PowerPoint 2010
คุณสามารถปรับเปลี่ยนระยะเวลาการเปลี่ยนภาพ ปรับเปลี่ยนลักษณะพิเศษของการเปลี่ยนภาพ และแม้กระทั่งระบุเสียงที่จะเล่นระหว่างการเปลี่ยนภาพ นอกจากนี้ คุณสามารถระบุเวลาที่จะใช้สำหรับภาพนิ่งภาพหนึ่งก่อนเปลี่ยนเป็นภาพนิ่งถัดไป
หมายเหตุ:
สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับวิธีเพิ่มการเปลี่ยนภาพให้กับภาพนิ่ง ให้ดูบทความ การเพิ่มการเปลี่ยนภาพระหว่างภาพนิ่ง
สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับวิธีทำให้สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อยหรือรูปภาพปรากฏบนภาพนิ่ง หรือวิธีใช้ภาพเคลื่อนไหวแบบกำหนดเอง ให้ดูที่ การทำให้ข้อความหรือวัตถุเคลื่อนไหว
สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับวิธีเปลี่ยนแปลงหรือเอาการเปลี่ยนภาพออก ให้ดูที่ การเปลี่ยนแปลงหรือเอาการเปลี่ยนภาพระหว่างภาพนิ่งออก



ปรับเปลี่ยนตัวเลือกลักษณะพิเศษสำหรับการเปลี่ยนภาพ
การเปลี่ยนภาพจำนวนมาก แต่ไม่ทั้งหมดใน PowerPoint 2010 มีคุณสมบัติแบบกำหนดเองที่คุณสามารถตั้งค่าได้
1.เลือกภาพนิ่งที่มีการเปลี่ยนภาพที่คุณต้องการปรับเปลี่ยน
2.บนแท็บ การเปลี่ยน ในกลุ่ม การเปลี่ยนไปยังภาพนิ่งนี้ ให้คลิก ตัวเลือกลักษณะพิเศษ และเลือกตัวเลือกที่คุณต้องการ



เมื่อต้องการเลื่อนภาพนิ่งไปยังภาพนิ่งถัดไป เมื่อคุณคลิกเมาส์ เลือกกล่องกาเครื่องหมาย เมื่อคลิกเมาส์
เมื่อต้องการระบุเวลาก่อนเลื่อนภาพนิ่ง ให้เลือกกล่องกาเครื่องหมาย หลังจาก แล้วพิมพ์จำนวนนาทีหรือวินาทีที่คุณต้องการในกล่องข้อความที่เกี่ยวข้อง
หมายเหตุ:  เมื่อต้องการใช้การกำหนดเวลาที่ระบุ บนแท็บ การนำเสนอภาพนิ่ง ในกลุ่ม ตั้งค่า ตรวจให้แน่ใจว่าคุณ เลือกกล่องกาเครื่องหมาย ใช้การกำหนดเวลา
ด้านบนของหน้า

ตั้งเสียงที่จะเล่นระหว่างการเปลี่ยนภาพ
1.เลือกภาพนิ่งที่มีการเปลี่ยนภาพที่คุณต้องการปรับเปลี่ยน
2.บนแท็บ การเปลี่ยน ในกลุ่ม การกำหนดเวลา ในรายการ เสียง ให้เลือกเสียงที่คุณต้องการ




บทที่11


บทที่ 11 
การประยุกต์ใช้โปรแกรมการนำเสนอผลงาน และการผลิตสื่อผสมด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint







  PowerPoint ถึงจะเป็นโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพในการนำเสนอ ก็ย่อมมีข้อจำกัดบ้างเป็นธรรมดา  จึงควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหา จึงจะเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการสื่อสาร  สิ่งสำคัญ คือ ผู้ใช้ต้องมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่จะบรรยายเป็นอย่างดี  จึงจะสามารถส่งสารไปถึงผู้รับสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โปรแกรม PowerPoint เป็นเพียงเครื่องมืออย่างหนึ่ง  ที่ให้มนุษย์ใช้ติดต่อสื่อสาร  รวมถึงความตั้งใจจริงของผู้ส่งสารที่จะถ่ายทอดความรู้  และผู้รับสารก็มีความพร้อมที่จะเรียนรู้จากสาร   การสื่อสารนั้นจึงจะประสบผลสำเร็จ
ปัจจุบันการนำเสนอผลงานหรือสินค้า  เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง  เพื่อให้สินค้าเป็นที่รู้จักของตลาดผู้ซื้อ  รวมไปถึงเรื่องการเรียนการสอน  สื่อที่ใช้นำเสนอให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น  จนบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนการสอนนั้น  มีหลายชนิดให้เลือกใช้ในการนำเสนอตามความถนัดและความเหมาะสมของเนื้อหาการเรียนการสอน  เช่น วีดิทัศน์  แผ่นใส  สไลด์  แผนภาพ

แผนภูมิ ฯลฯ  แล้วแต่ผู้ใช้จะเลือกให้เหมาะสมกับเนื้อหา
               โปรแกรมนำเสนอที่ได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบัน  ได้แก่ โปรแกรม PowerPoint  ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้งานง่าย  ไม่ยุ่งยาก  รูปแบบการนำเสนอมีสีสันสวยงามความน่าสนใจ  สามารถทำให้ตัวอักษร  และภาพ   เคลื่อนไหวได้  ทำให้งานที่นำเสนอดูมีชีวิตชีวายิ่งขึ้น  เหมาะสำหรับการนำเสนอผลงานในรูปแบบต่างๆ ได้ดี
PowerPoint เป็นโปรแกรมหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการนำเสนอ  เป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนได้เป็นอย่างดี และเป็นการเตรียมความพร้อมอย่างดีของผู้สอน เปรียบเสมือนเข็มทิศนำทาง  ให้ผู้สอนสามารถสื่อสารกับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
             



  ปัจจุบันมีการนำเสนอผลงานด้วยสื่อที่หลากหลาย  โปรแกรม PowerPoint  เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง  ในการผลิตสื่อเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สินค้า  รวมไปถึงการใช้โปรแกรม PowerPoint ผลิตสื่อประกอบการบรรยายเนื้อหาต่างๆ จนได้รับความนิยมอย่างมาก  ในหมู่วิทยากรอาชีพ  ที่ต้องเดินทางไปบรรยายในสถานที่ต่างๆ  อยู่เป็นประจำ   แม้กระทั่งในแวดวงการศึกษา คณาจารย์ ครู นักวิชาการศึกษาก็นิยมใช้โปรแกรมนี้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอน  เพราะเป็นโปรแกรมที่ใช้งานง่าย   สะดวก ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย มีประสิทธิภาพในการนำเสนอ
งานพื้นฐานใน PowerPoint 2010
PowerPoint คืออะไร
PowerPoint 2010 คือโปรแกรมประยุกต์แบบภาพและกราฟิก ที่มีจุดประสงค์หลักในการใช้เพื่อสร้างงานนำเสนอ PowerPoint ทำให้คุณสามารถสร้าง ดู และแสดงการนำเสนอภาพนิ่งที่รวมข้อความ รูปร่าง รูปภาพ กราฟ ภาพเคลื่อนไหว แผนภูมิ วิดีโอ และอื่นๆ อีกมากมาย
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะของ PowerPoint 2010 ให้ดูที่ มีอะไรใหม่ใน PowerPoint 2010
การค้นหาและนำแม่แบบไปใช้
PowerPoint 2010 ทำให้คุณสามารถนำแม่แบบที่มีอยู่แล้วภายในหรือแม่แบบที่คุณกำหนดเองไปใช้ได้ ตลอดจนค้นหาแม่แบบที่หลากหลายได้จากแม่แบบของนักออกแบบที่มีอยู่บน Office.comOffice.com มีแม่แบบ PowerPoint ที่เป็นที่นิยมซึ่งมีให้เลือกอย่างหลากหลาย รวมถึงแม่แบบ งานนำเสนอ และ ภาพนิ่งการออกแบบ
เมื่อต้องการค้นหาแม่แบบใน PowerPoint 2010 ให้ทำดังต่อไปนี้
บนแท็บ แฟ้ม ให้คลิก สร้าง
ภายใต้ แม่แบบและชุดรูปแบบที่พร้อมใช้งาน ให้เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
เมื่อต้องการนำแม่แบบที่คุณได้ใช้ล่าสุดไปใช้ใหม่ ให้คลิก แม่แบบล่าสุด คลิกแม่แบบที่คุณต้องการ แล้วคลิก สร้าง
เมื่อต้องการใช้แม่แบบที่คุณได้ติดตั้งไว้แล้ว ให้คลิก แม่แบบของฉัน จากนั้นเลือกแม่แบบที่คุณต้องการ แล้วคลิก ตกลง
เมื่อต้องการใช้แม่แบบที่มีอยู่แล้วภายในแม่แบบใดแม่แบบหนึ่งที่ติดตั้งด้วย PowerPoint ให้คลิก แม่แบบตัวอย่าง คลิกแม่แบบที่คุณต้องการ แล้วคลิก สร้าง
เมื่อต้องการค้นหาแม่แบบบน Office.com ภายใต้ แม่แบบ Office.com ให้คลิกประเภทแม่แบบ แล้วเลือกแม่แบบที่คุณต้องการ จากนั้นคลิก ดาวน์โหลด เพื่อดาวน์โหลดแม่แบบจาก Office.com ลงในคอมพิวเตอร์ของคุณ



การสร้างงานนำเสนอ
1.คลิกแท็บ แฟ้ม แล้วคลิก สร้าง
2.เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
3.คลิก งานนำเสนอเปล่า แล้วคลิก สร้าง
นำแม่แบบหรือชุดรูปแบบไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นแม่แบบที่มีอยู่แล้วภายในของ PowerPoint 2010 หรือที่ดาวน์โหลดจาก Office.com โปรดดูที่ การค้นหาและนำแม่แบบไปใช้ ในบทความนี้
1.ด้านบนของเพจ
2.การเปิดงานนำเสนอ
3.คลิกแท็บ แฟ้ม แล้วคลิก เปิด
4.ในบานหน้าต่างด้านซ้ายของกล่องโต้ตอบ เปิด ให้คลิกไดรฟ์หรือโฟลเดอร์ที่มีงานนำเสนอที่คุณต้องการ
ในบานหน้าต่างด้านขวาของกล่องโต้ตอบ เปิด ให้เปิดโฟลเดอร์ที่มีงานนำเสนอ
คลิกงานนำเสนอ แล้วคลิก เปิด
หมายเหตุ: ตามค่าเริ่มต้นแล้ว PowerPoint 2010 จะแสดงเฉพาะงานนำเสนอ PowerPoint เท่านั้นในกล่องโต้ตอบ เปิด เมื่อต้องการดูแฟ้มชนิดอื่น ให้คลิก งานนำเสนอ PowerPoint ทั้งหมด และเลือกประเภทของแฟ้มที่คุณต้องการดู



การบันทึกงานนำเสนอ
1.คลิกแท็บ แฟ้ม แล้วคลิก บันทึกเป็น
2.ในกล่อง ชื่อแฟ้ม พิมพ์ชื่อสำหรับงานนำเสนอ PowerPoint ของคุณ และคลิก บันทึก
หมายเหตุ: ตามค่าเริ่มต้นแล้ว PowerPoint 2010 จะบันทึกแฟ้มในรูปแบบแฟ้ม PowerPoint Presentation (.pptx) เมื่อต้องการบันทึกงานนำเสนอของคุณในรูปแบบอื่นนอกเหนือจาก .pptx ให้คลิกรายการ บันทึกเป็นชนิด แล้วเลือกรูปแบบแฟ้มที่คุณต้องการ





การแทรกภาพนิ่งใหม่
เมื่อต้องการแทรกภาพนิ่งใหม่ในงานนำเสนอของคุณ ให้ทำดังต่อไปนี้
บนแท็บ หน้าแรก ในกลุ่ม ภาพนิ่ง ให้คลิกลูกศรด้านล่าง สร้างภาพนิ่ง จากนั้นคลิกที่เค้าโครงภาพนิ่งที่คุณต้องการ



เคล็ดลับสำหรับการสร้างงานนำเสนอที่มีประสิทธิผล
พิจารณาเคล็ดลับต่อไปนี้เพื่อใช้สร้างงานนำเสนอที่โดดเด่นและดึงดูดผู้ชมของคุณ
ใช้ภาพนิ่งจำนวนน้อยๆ
เมื่อต้องการให้ข้อความมีความชัดเจนและทำให้ผู้ชมติดตามและตรึงความสนใจของผู้ชม ให้ใช้จำนวนภาพนิ่งในงานนำเสนอของคุณให้น้อยที่สุด
เลือกขนาดแบบอักษรที่ผู้ชมอ่านได้ง่าย
การเลือกขนาดแบบอักษรที่เหมาะสมจะช่วยให้การสื่อสารข้อความของคุณได้ผลมากยิ่งขึ้น โปรดระลึกไว้อยู่เสมอว่า ผู้ชมต้องสามารถอ่านภาพนิ่งของคุณจากระยะไกลได้ โดยทั่วไป ขนาดแบบอักษรที่เล็กกว่า 30 อาจทำให้มองเห็นได้ยาก
ข้อความในภาพนิ่งของคุณควรเรียบง่าย
คุณต้องการให้ผู้ชมฟังการนำเสนอข้อมูลของคุณแทนที่จะอ่านจากหน้าจอ ใช้สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อยหรือประโยคแบบสั้น และพยายามให้แต่ละประโยคอยู่ในบรรทัดเดียวกันโดยไม่มีการตัดข้อความ
เครื่องฉายภาพบางเครื่องจะครอบตัดภาพนิ่งที่ขอบ ทำให้ประโยคยาวๆ อาจถูกครอบตัดไปด้วย
ใช้ภาพเพื่อช่วยในการสื่อถึงข้อความของคุณ
รูปภาพ แผนภูมิ กราฟ และ กราฟิก SmartArt ช่วยในด้านการสื่อสารด้วยภาพที่ทำให้ผู้ชมของคุณสามารถจดจำได้ง่าย เพิ่มภาพที่มีความหมายเพื่อส่งเสริมเนื้อหาและข้อความบนภาพนิ่งของคุณ
อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับข้อความ ควรหลีกเลี่ยงการใช้สื่อด้านภาพจำนวนมากเกินไปในภาพนิ่งของคุณ
สร้างป้ายชื่อสำหรับแผนภูมิและกราฟที่เข้าใจได้ง่าย
ใช้ข้อความที่มีความยาวพอเหมาะที่ทำให้สามารถเข้าใจถึง องค์ประกอบป้ายชื่อในแผนภูมิหรือกราฟ ได้
ใช้พื้นหลังของภาพนิ่งที่เฉียบคมและสอดคล้อง
เลือก เทมเพลต หรือ ธีม ที่ดึงดูดและกลมกลืนกันโดยที่ไม่สะดุดตาเกินไป เนื่องจากคุณคงไม่ต้องการให้พื้นหลังหรือการออกแบบดึงความสนใจไปจากข้อความของคุณ
อย่างไรก็ตาม คุณควรเลือกสีของพื้นหลังและสีของข้อความที่ตัดกัน ชุดรูปแบบที่มีอยู่แล้วภายใน PowerPoint 2010 ตั้งค่าความคมชัดระหว่างพื้นหลังสีอ่อนและข้อความสีเข้ม หรือพื้นหลังสีเข้มและข้อความสีอ่อนโดยอัตโนมัติ
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการใช้ชุดรูปแบบ ให้ดูที่ การใช้ชุดรูปแบบเพื่อเพิ่มสีและลักษณะให้กับงานนำเสนอของคุณ
ตรวจสอบการสะกดคำและไวยากรณ์
เพื่อให้ได้การยอมรับนับถือจากผู้ชม ให้ ตรวจสอบการสะกดและไวยากรณ์ในงานนำเสนอของคุณ เสมอ

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ PowerPoint
การใช้งาน Microsoft Office PowerPoint 2007
Microsoft PowerPoint
โปรแกรม Microsoft PowerPoint 2007 เป็นโปรแกรมหนึ่งในตระกูล Microsoft Office เหมาะ
สา หรับการจัดสร้างงานนา เสนอข้อมูล (Presentation) สา หรับนา ไปประยุกต์ใช้ในงานได้หลายประเภท เช่น การนำเสนอข้อมูลสินค้าและบริการ การจัดทา Slide Show การออกแบบแผ่นพับ เป็นต้น
Interface หรือหน้าจอโปรแกรมนับเป็นสิ่งแรกที่เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของ PowerPoint2007 ได้อย่างชัดเจน เนื่องจากมีการออกแบบปรับโฉมเป็นรูปแบบใหม่ทั้งหมด โดยคำนึงถึงผู้ใช้งานเป็นหลัก จึงทำให้สามารถเรียกใช้เครื่องมือและคา สั่งต่างๆ ได้สะดวกรวดเร็วขึ้น
ความแตกต่างระหว่าง PowerPoint 2003 กับ PowerPoint 2007
ริบบอนมีลักษณะคล้ายกับทูลบาร์ ที่เราคุ้นเคยกันดีใน PowerPoint 2003 ซึ่งเป็นแหล่งที่ใช้
สา หรับรวบรวมแท็บเครื่องมือต่างๆ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทา งานมากขึ้น โดยดึงเอาความสามารถออกมาจากเมนูคำสั่งที่ซ้อนๆกันอยู่จากเวอร์ชั่นเดิม ให้แสดงอยู่ในรูปแบบของปุ่มเครื่องมือต่างๆ เพื่อให้เห็นชัดเจนและคลิกใช้งานได้ทันที
PowerPoint XP
PowerPoint 2007
กฎในการออกแบบหน้าสไลด์
ในการสร้างสไลด์ในแต่ละหน้านั้น ผู้ใช้ควรมีกฎที่เป็นแนวทางในการสร้างงานนา เสนอก่อน
เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน โดยสรุปได้ดังนี้
1. ในแต่ละสไลด์ควรมีหัวเรื่องเพื่อบอกถึงสิ่งที่จะอธิบาย
2. ตัวอักษรควรใช้ขนาดใหญ่ เพื่อให้ผู้รับฟังและรับชมสามารถมองเห็นอย่างชัดเจน
3. ควรใช้คา สั้นๆ ที่อ่านเข้าใจง่าย เพื่อให้เกิดความน่าสนใจและน่าติดตาม
4. หัวข้อของเนื้อหาไม่ควรเกิน 8 บรรทัดในหนึ่งสไลด์ เพราะถ้ามีมากเกินไปจะส่งผลทำให้
สื่อได้ไม่ชัดเจน
5. ไม่ควรนา ภาพมาเป็นพื้นหลัง (Background) เพื่อจะทา ให้อ่านยาก
6. การใส่รูปภาพลงในสไลด์ควรใช้ขนาดพอสมควรไม่ใหญ่เกินไป
การสร้าง Presentation ใหม่ จาก Template
สาหรับการเริ่มสร้างงานพรีเซนต์ใหม่จาก PowerPoint 2007 จะช่วยให้คุณสามารถสร้างงาน
ได้อย่างรวดเร็วขึ้นจาก Template1 หรือแม่แบบสไลด์สำเร็จรูปที่มีให้เลือกมากมาย โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องเริ่มออกแบบงานใหม่ทุกครั้งและยังสามารถดาว์นโหลดแม่แบบเพิ่มเติมผ่านทางเว็บไซต์ Microsoft.comได้อีกด้วย
วิธีการสร้างงานใหม่
เมื่อคลิกสัญลักษณ์ เลือก New เลือก Installed Themes ที่ชอบแล้วคลิกปุ่ม Create
การเปิดโปรแกรม Microsoft PowerPoint 2007
1. คลิก Start Menu
2. คลิกเลือก Program
3. คลิก Microsoft Office
4. คลิกเลือก Microsoft PowerPoint 2007
5. ปรากฏหน้าจอโปรแกรม Microsoft PowerPoint 2007


การสไลด์แผ่นใหม่
การสร้างสไลด์ใหม่ในโปรแกรม Microsoft PowerPoint 2007 จะสร้างสไลด์ที่ไม่มีข้อความ
หรือรูปภาพใดๆ อยู่ในเอกสาร ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกปุ่ม (Office)
2. คลิกเลือกงานนำเสนอเปล่า
การพิมพ์ข้อความลงในสไลด์
                เมื่อเปิดหน้าสไลด์แล้วจะพบว่า มีพื้นที่สีขาวสำหรับพิมพ์ข้อความลงไป โดยการเริ่มต้นพิมพ์
ข้อความลงในสไลด์ มีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกให้ปรากฏเส้นเคอร์เซอร์ ตรงบริเวณกรอบที่ต้องการพิมพ์ตัวอักษร
2. พิมพ์ข้อความตามต้องการ เมื่อพิมพ์ข้อความจนสุดบรรทัด โปรแกรมจะขึ้นบรรทัดใหม่
ให้โดยอัตโนมัติ (หากต้องการลบข้อความหรือคำผิดให้แดรกเมาส์เลือกข้อความ จากนั้นกดปุ่ม
<Backspace> ที่คีย์บอร์ด)
การจัดข้อความให้สวย
1. คลิกข้อความที่จะจัด
2. คลิกรูปแบบ
3. คลิกเลือกเครื่องมือที่ Ribbon โดยจัดตามต้องการ





เทคนิคการทา Presentation
การเลือกใช้ข้อความที่มีขนาดเหมาะสม ช่วยให้การนาเสนอมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นในการสื่อให้ผู้ที่มารับข้อมูลเข้าใจ โดยมีหลักการดังนี้
1. ตัวอักษรต้องอ่านง่าย โดยปกติตัวอักษรควรมีขนาดตั้งแต่ 36-60 Point และควรเป็น
ตัวหนา เพื่อจะสื่อได้ชัดเจนมากขึ้น
2. ในหนึ่งสไลด์ไม่ควรใช้แบบตัวอักษรเกิน 2 ประเภท เพื่อความสวยงาม
การเลือกสีในการออกแบบ สีนับว่าเป็นความสำคัญของการออกแบบหน้าจอ  เนื่องจากผู้ใช้
ต้องใช้สายตาดูจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานถ้าใช้สีร้อนอาจทำให้เกิดความระคายเคืองได้
การออกแบบตัวหนังสือ
Microsoft PowerPoint 2007 ยังมีเครื่องมือที่จะช่วยให้งานพรีเซนต์ของคุณเป็นมืออาชีพได้
ง่ายๆ ด้วยการออกแบบสำเร็จรูปที่พร้อมให้เลือกอย่างจุใจ เช่น การออกแบบพื้นหลังสไลด์ด้วย Themes
Design การปรับแต่งข้อความศิลป์ ด้วย WordArt Style รวมทั้งการเลือกสีสันตามใจชอบด้วย Themes
Color


1. เลือกข้อความที่ต้องการเปลี่ยน
2. คลิกปุ่ม Insert เลือก
วิธีการใส่ Effect ให้กับตัวอักษร
1. คลิกเลือกคลุมข้อความที่เป็นตัวอักษร
2. คลิกเมนูแท็ป Format ด้านบน
3. คลิกเลือกปรับแต่งข้อมูลในหัวข้อ WordArt Stylesทิป แทป็ Format จะแสดงต่อเมื่อเรามีการคลิกเลือกข้อความที่สามารถปรับแต่งรูปแบบได้ เท่านั้น
สำหรับผู้ที่ต้องการปรับแต่งพื้นหลังของตัวอักษรให้มีความโดดเด่น หรือสร้างเป็นปุ่มข้อความ
โดยใช้ Themes Color เป็นตัวกำหนด
1. เลือกกรอบข้อความ
2. คลิกแท็บ Format
การเลือกพื้นหลังสไลด์  สำหรับบางท่านที่ต้องการความโดดเด่นพื้นหลังของงานพรีเซนต์ ซึ่งถือเป็นปัจจัยแรกที่ส่งผล
กับการออกแบบและผู้รับข้อมูลโดยตรง เพราะถ้าพื้นหลังไม่ดีจะทำให้ดูแล้วไม่สบายตา สามารถเลือกพื้น
หลัง Themes Design ได้เองอย่างง่าย ดังนี้
1. เลือกกรอบข้อความ
2. คลิกแท็บ Design
การแทรกรูปภาพเข้ามาใหม่
1. คลิกแท็กแทรก (Insert)
2. คลิกปุ่มเพื่อเลือกรูปภาพที่จะนำมาใส่ในสไลด์
3. จะปรากฏหน้าต่างแทรกรูปภาพขึ้นมาให้เลือกโฟล์เดอร์ที่เก็บไฟล์ภาพ
4. คลิกเลือกรูปภาพที่ต้องการ
5. คลิกปุ่มแทรก (Insert) เพื่อแทรกรูปในสไลด์


การปรับแต่งกราฟิกให้สวยงาม
สำหรับผู้ที่ไม่ถนัดการออกแบบศิลปะ Microsoft PowerPoint ก็ได้ออกแบบโปรแกรมให้มี
เครื่องมือที่ใช้สำหรับแต่งภาพขึ้นมาด้วย ในชื่อเครื่องมือ Picture Styles ซึ่งเพียงเราเลือกรูปแบบที่ต้องการ
ภาพก็จะถูกปรับแต่งออกมาสวยงามน่ามอง การเลือกใช้ภาพประกอบ เป็นการเสริมให้สไลด์ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น แต่ถ้ามีมากเกินไปจะทำให้เกิดความสับสนกับข้อมูลที่นำเสนอได้   ดังนั้นจึงมีวิธีการในการเลือกใช้ภาพให้เหมาะสม ดังนี้
1. ภาพที่นำมาใช้ต้องส่งเสริมข้อความที่นำเสนอ
2. ไม่ควรมีอักษรในภาพถ้าไม่จำเป็น
3. ภาพที่นำมาใช้ไม่ควรใช้ไฟล์ที่มีขนาดใหญ่มาก เพราะจะทำให้โปรแกรมทำงานหนักขึ้น

บทที่10


บทที่ 10 
การสร้างรายงานจากโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลและการดูแลฐานข้อมูล





ความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับฐานข้อมลู และหลักการออกแบบฐานข้อมล
หัวข้อเรื่องและงาน
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับข้อมูล ฐานข้อมูล ระบบฐานข้อมูลในAccess 2007 ส่วนประกอบ ของฐานข้อมูล Access 2007 และหลักการออกแบบฐานข้อมูลที่ดี
สาระสำคัญ
ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ ทั่วไป
ฐานข้อมูล หมายถึง แหล่งเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อหรือจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง มีโครงการและการจัดการอย่างเป็นระบบ
ระบบฐานข้อมูล หมายถึง ส่วนประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานฐานข้อมูล ส่วนประกอบของฐานข้อมูล Access 2007 ได้แก่ ตาราง ฟอร์ม รายงาน แบบสอบถาม แมโคร และโมดูล มีหลักการออกแบบฐานข้อมูลที่ดี มีกระบวนการ คือ กำหนดวัตถุประสงค์ของ ฐานข้อมูล ค้นหาและจัดระเบียบข้อมูลที่ต้องการ แบ่งข้อมูลลงในตารางต่างๆ เปลี่ยนรายการของ ข้อมูลให้เป็นคอลัมน์ต่างๆ ระบุคีย์แต่ละตารางกำหนดความสัมพันธ์ของตาราง การปรับการ ออกแบบให้ดียิ่งขึ้น และการใช้กฎ Normalization
จุดประสงค์การสอน
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของข้อมูล ฐานข้อมูล และระบบฐานข้อมูล
จุดประสงค์ทั่วไป
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูลและส่วนประกอบของฐานข้อมูลใน Access 2007
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะในการหลักการออกแบบฐานข้อมูลที่ดี



จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
สามารถอธิบายความหมายของข้อมูล ฐานข้อมูล และระบบฐานข้อมูลได้
สามารถอธิบายและจำแนกระบบฐานข้อมูลและส่วนประกอบของฐานข้อมูลในAccess 2007 ได้
สามารถออกแบบฐานข้อมูลที่ดีได้
เนื้อหา
ข้อมูลและฐานข้อมูล

ข้อมูล  (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ ทั่วไป เช่น ราคาสินค้า คะแนนของนักเรียนแต่ละคน ซึ่งปกติถือว่าเป็น ข้อมูลดิบ (Raw Data) ที่ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วเรียกว่า สารสนเทศ (Information) เช่น เมื่อนำคะแนนของนักเรียนทั้งหมดมาประมวลผลก็จะได้คะแนนสูงสุด คะแนนต่ำสุดของนักเรียนทั้งหมด ข้อมูลที่นำมาจัดเก็บในฐานข้อมูลอาจอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวอักษร ข้อความ รูปภาพ เสียง หรือภาพและเสียง

ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง แหล่งเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อหรือจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง มีโครงการและการจัดการอย่างเป็นระบบ ข้อมูลที่บันทึกเก็บไว้สามารถปรับปรุงแก้ไข สืบค้น และนำมาใช้ในการจัดการสารสนเทศได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ


ฐานข้อมูลในที่นี้ หมายถึงฐานข้อมูลที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลก็คือจานแม่เหล็กหรือฮาร์ดดิสก็นั่นเอง ตัวอย่างฐานข้อมูลที่ใช้กันทั่วไป ได้แก่ ฐานข้อมูลบุคลากร ฐานข้อมูลนักศึกษา ฐานข้อมูลสินค้า ฯลฯ  ปกติฐานข้อมูลจะถูกจัดเก็บไว้ที่สวนกลางของหน่วยงานหรือองค์กร เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเรียกใช้ข้อมูลรวมกันได้ โดยอาจใช้ข้อมูลได้บางส่วนหรือทั้งหมดขึ้นอยู่กับการกำหนดสิทธิในการใช้งาน  ฐานข้อมูลอาจเก็บข้อมูลไว้ในแฟ้มเดียวกันหรือแยกเก็บหลายๆ แฟ้มที่มีความสัมพันธ์กัน  โดยแต่ละแฟ้มเรียกว่า ตาราง

โครงสร้างของตารางประกอบด้วย


1. ชื่อตารางหรือชื่อฐานข้อมูล (Database Name)
2. เขตข้อมูลในแนวตั้ง (Column) หรือฟิลด์ (Field) หลายฟิลด์
3. รายการข้อมูลหรือระเบียน (Record) หลายรายการในแนวนอน (Row)
ตัวอย่าง ตารางฐานข้อมูลชื่อ ข้อมูลนักศึกษา มีฟิลด์ต่าง ๆ ที่ไม่ซ้ำกัน เช่น รหัสนักศึกษา (StudentID) ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เมือง จังหวัด ฯลฯ ซึ่งข้อมูลของนักศึกษาแต่ละคนจัดเก็บในระเบียนที่ไม่ซ้ำกันตามฟิลด์ต่าง ๆ
ศัพท์สำคัญเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูลและการออกแบบระบบฐานข้อมูล คือ
เอนทิตี้ (Entity) เป็นคำที่อ้างอิงถึงบุคคล สถานที่ และสิ่งของต่างๆ เช่น สินค้าหรือวิชาใบสั่งซื้อหรือบัตรลงทะเบียนและลูกค้าหรือนักศึกษา เป็นต้น ถ้าเราสนใจในการสร้างระบบฐานข้อมูลการสั่งซื้อสินค้าเอนทิตี้ของระบบนี้จะประกอบด้วย เอนทิตี้ลูกค้า ใบสั่งซื้อสิ้นค้า กับสิ้นค้า ดังรูป
แอตทริบิวต์  (Attribute) เป็นข้อมูลที่แสดงลักษณะของเอนทิตี้ เช่น แอตทิบิวต์ของเอนทิตี้ลูกค้าหรือนักศึกษา จะมีชื่อ ที่อยู่ และรหัสไปรษณีย์ ส่วนแอตทริบิวต์ของเอนทิตี้ ใบสังซื้อสินค้า จะมีรหัสใบสังซื้อ วันที่สังซื้อ ชื่อสินค้า จำนวนสินค้าที่สั่ง และราคาสินค้า เป็นต้น ซึ่งเราสามารถแสดงเอนทิตี้ รวมทั้งแอตทิบิวต์ได้
ความสัมพันธ์ (Relationships) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ต่างๆ ใน ระบบ เช่น ในระบบการสั่งซื้อสิ้นค้า จะประกอบด้วยเอนทิตี้ใบสั่งซื้อสินค้า และเอนทิตี้ลูกค้าซึ่งมีความสัมพันธ์จากลูกค้าไปยังใบสั่งซื้อสินค้าเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม (One – to – Many) เป็นต้น

ในระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์นั้น เราจะต้องกำหนดชนิดของคีย์ต่างๆ เพื่อเป็น        แอตทริบิวต์พิเศษที่ทำหน้าที่บางอย่าง เช่น เป็นตัวแทนของตาราง ฯลฯ ซึ่งมีชนิดคีย์ ดังนี้
Primary Key (คีย์หลัก) จะเป็นฟิลด์ที่มีค่าไม่ซ้ำกันเลยในแต่ละเรคอร์ดในตารางนั้น เราสามารถใช้ฟิลด์ที่เป็น Primary Key นี้เป็นตัวแทนของตารางนั้นได้ทันที
Candidate Key (คีย์คู่แข่ง ) เป็นฟิลด์หนึ่งหรือหลายฟิลด์ที่พอเอามารวมกันแล้วมีคุณสมบัติเป็น Primary Key (ไม่ซ้ำ) และไม่ได้ถูกใช้เป็นคีย์หลัก เช่น รหัสจังหวัดเป็นคีย์หลักสวนชื่อจังหวัดก็ไม่ซ้ำเช่นกัน แต่ไม่ได้เป็นคีย์หลักจึงเป็นคีย์คู่แข่งแทน
Composite Key บางตารางหาฟิลด์ไม่ซ้ำไม่ได้เลยจึงต้องใช้หลายๆ ฟิลด์มารวมกันเป็น Primary Key ฟิลด์ที่ใช้รวมกันนี้เราเรียกว่า Composite Key
Foreign Key เป็นฟิลด์ใดๆ ในตารางหนึ่ง (ฝัง Many) ที่มีความสัมพันธ์กับฟิลด์ ที่เป็น Primary Key ในอีกตารางหนึ่ง (ฝัง One) โดยที่ตารางทั้งสองมีความสัมพันธ์แบบ One – to – Many ต่อกัน
ฐานข้อมูลมีหลายแบบแต่ที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน คือ
ฐานข้อมูลแบบสัมพันธ์(Relational Database) ซึ่งมีโครงสร้างเป็นตารางหลายตารางที่มีความสัมพันธ์กันโดยใช้ฟิลด์ที่ เหมือนกัน เช่น รหัสนักศึกษา (StudentID)






กษณะของฐานข้อมูลแบบสัมพันธ์
1.   ค่าของข้อมูลต้องเป็นค่าที่ไม่สามารถแบ่งแยกออกไปได้อีก เช่น ชื่อ
2.   ค่าในแนวตั้ง (Column) หรอฟิลด์ต้องเป็นแบบเดียวกัน เช่น ถ้าเป็นฟิลดสำหรับเก็บชื่อก็ต้องเป็นชื่อจริงทั้งหมด ไม่มีชื่อเล่นมาเก็บด้วย
3.   ลำดับของฟิลด์ไม่จำเป็นต้องเรียงกัน เช่น อาจใช้   ฟิลด์นามสกุลก่อนฟิลด์ชื่อก็ได้
4.   ชื่อฟิลด์ในตารางเดียวกันจะต้องไม่ซ้ำกัน
5.   ต้องกำหนดฟิลด์ใดฟิลด์หนึ่งเป็นดัชนี (Index)หรอเรียกว่า กุญแจหลัก (Primary Key)
6.   ข้อมูลในแต่ละแถวหรอระเบียนต้องไม่ซ้ำกันกับแถวอื่น
7.   ไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับของข้อมูลแต่ละแถวหรอระเบียบ





ระบบฐานข้อมลู (Database System)
ระบบฐานข้อมูล (Database System) หมายถึง ส่วนประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานฐานข้อมูล อาจแบ่งเป็นฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) และบุคลากร (Personnel) เหมือนระบบคอมพิวเตอร์ ดังนี้
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ที่ใช้กับฐานข้อมูล อุปกรณ์นำเข้าข้อมูลแบบต่างๆและโปรแกรมใช้งาน
ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรมใช้งานและระบบการจัดการฐานข้อมูล
บุคลากร (Personnel) หมายถึง บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบหรือผู้ใช้งานฐานข้อมูล
เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นอาจดูผังลักษณะการใช้งานระบบฐานข้อมูล ดังนี้
ผู้ใช้งานฐานข้อมูล หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลแบ่งได้เป็น

 ผู้ใช้ (User) หมายถึง ผู้ที่ต้องการใช้ฐานข้อมูลทั่วไป การใช้งานอาจทำได้โดยผ่านโปรแกรมใช้งานหรือผ่านระบบการจัดการฐานข้อมูลถ้ามีความรู้เกี่ยวกับระบบเพียงพอ
ผู้เขียนโปรแกรมใช้งาน (Application Programmer) หมายถึง ผู้ที่สร้างฐานข้อมูล และพัฒนาโปรแกรมใช้งานสำหรับให้ผู้ใช้สามารถใช้งานฐานข้อมูลได้ง่าย และให้ผู้บริหาร ฐานข้อมูลสามารถจัดการฐานข้อมูลได้สะดวกขึ้น
ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator) หมายถึง ผู้ที่ออกแบบฐานข้อมูล ดูแลรักษาและจัดการฐานข้อมูลให้ปลอดภัย ทันสมัย และถูกต้องอยู่เสมอ
โปรแกรมใช้งานฐานข้อมูล อาจทำขึ้นโดยใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง เช่น วิชวลเบสิก (Visual Basic) หรือใช้ภาษาสำหรับฐานข้อมูล คือ SQL (Structured Query Language) หรือใช้ระบบการจัดการฐานข้อมูล (DBMS: Database Management System) โดยตรงก็ได้ลการใช้งานระบบฐานข้อมูล อาจเป็นแบบใช้งานคนเดียว (Single User) หรือระบบใช้งาน หลายคน (Multi – User) ที่เชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย (Network) ภายในหน่วยงานที่เรียกว่า อินทราเน็ต (Intranet) หรือใช้งานผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่กำลังเป็นที่นิยมกันในปัจจุบัน
ระบบการจัดการฐานข้อมูล หมายถึง ชุดโปรแกรมที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูล เช่น การสร้างฐานข้อมูล การบัทึกข้อมูล การปรับปรุงแก้ไขข้อมูล การสืบค้นข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดทำรายงาน และอื่น ๆ
ตัวอย่างของโปรแกรมที่ใช้จัดการฐานข้อมูล ได้แก่ Microsoft Access, Microsoft SQL Server, MySQL, Oracle เป็นต้น

วิชา เทคโนโลยีสาระสนเทศและการสื่อสาร นางสาวศิริลักษณ์ หิรัญ ปวส.1 .ชอD6