วันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

บทที่2 ระบบเครือข่ายและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ระบบเครือข่ายและเทคโนโลยีสารสนเทศ



ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้ในกรณีที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนี้ว่า โฮสต์ (Host) และเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ามาเชื่อมต่อว่า ไคลเอนต์ (Client)ระบบเครือข่าย (Network) จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลก ซึ่งข้อมูลต่างๆ อาจเป็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วแก่ผู้ใช้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสำคัญ และจำเป็นต่อการใช้งานในด้านต่างๆ
          ซึ่งการที่เรานำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกัน เราจะสามารถใช้ประโยชน์จากระบบ หรือระบบสามารถทำอะไรได้บ้าง ทำให้ใช้ทรัพยากร ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้ (Resources Sharing) ซึ่งเป็นการช่วย ประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มความสะดวก ในการใช้งาน เช่น การใช้พื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ และเครื่องพิมพ์ร่วมกันสามารถบริหารจัดการการทำงานของคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ได้จากศูนย์กลาง (Centralized Management) เช่น สร้างเวิร์กกรุป กำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล และสามารถทำการ สำรองข้อมูล ของแต่ละเครื่องได้ สามารถทำการสื่อสาร ภายในเครือข่าย (Communication) ได้หลายรูปแบบ เช่น อีเมล์, แชท (Chat), การประชุมทางไกล (Teleconference), และ การประชุมทางไกล แบบเห็นภาพ (Video Conference)มีระบบรักษาความปลอดภัย ของข้อมูล บนเครือข่าย (Network Security) เช่นสามารถ ระบุผู้ที่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล ในระดับต่างๆ ป้องกันผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต เข้าถึงข้อมูล และให้การคุ้มครอง ข้อมูลที่สำคัญ ให้ความบันเทิงไม่รู้จบ (Entertainment) เช่น สามารถสนุกกับ การเล่นเกม แบบผู้เล่นหลายคน หรือที่เรียกว่า มัลติเพลเยอร์ (Multi Player) เป็นต้น



          เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ กลุ่มคอมพิวเตอร์ (มากกว่าสองเครื่อง หรือ สองระบบขึ้นไป) ที่มีการเชื่อมต่อให้สามารถสื่อสารข้อมูลถึงกันได้ โดยมีวัตถุประสงค์มากไปกว่าการสื่อสารข้อมูล เช่น อาจมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการประมวลผลข้อมูลร่วมกัน หรือมีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งแยกตามขอบเขตการต่อเชื่อมว่าต้องการใช้ในระยะใกล้หรือไกลประเภทสำคัญ ๆ ดังนี้ 

          1. เครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ (Local Area Network : LAN)
          2. เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network : WAN)
          3. เครือข่ายนครหลวง (Metropolitan Area Network : MAN)
          4. เครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet)

          เครือข่ายแลน (Local Area Network : LAN) ลักษณะสำคัญของเครือข่ายแลน คือ อุปกรณ์ที่ประกอบภายในเครือข่ายสามารถรับสัญญาณกันด้วยความเร็วสูงมาก โดยทั่วไปมีความเร็วตั้งแต่หลายสิบล้านบิตต่อวินาที จนกว่าพันล้านบิตต่อวินาที การสื่อสารในระยะใกล้จะมีความเร็วในการสื่อสาร ทำให้การรับส่งข้อมูลมีความผิดพลาดน้อย และสามารถรับส่งข้อมูลจำนวนมากในเวลาจำกัดได้ เครือข่ายแลนจึงเป็นเครือข่ายที่มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กรและมีแนวโน้มที่จะทำให้ทรัพยากรและการประมวลผลในองค์กรเชื่อมโยงเป็นระบบเดียวทำให้ใช้งานร่วมกันได้ทั้งองค์กร เครือข่ายแลนหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ท้องถิ่นเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในท้องที่บริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน เช่น ภายในอาคาร หรือภายในองค์การที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก




          เครือข่ายแวน (Wide Area Network : WAN) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะไกล เช่น เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ การสร้างเครือข่ายระยะไกล จึงต้องอาศัยระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ เช่น สารวงจรเช่าจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หรือ จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ใช้วงจรสื่อสารผ่านดาวเทียมใช้วงจรสื่อสารเฉพาะกิจที่มีให้บริการแบบสาธารณะ เครือข่ายแวนจึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกล และต้องการเชื่อมสาขาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคารมีสาขาทั่วประเทศมีบริการ รับฝากเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม เครือข่ายแวนเชื่อมโยงระยะไกลมาก จึงมีความเร็วในการสื่อสารไม่สูงเนื่องจาก มีสัญญาณรบกวนในสาย และการเชื่อมโยงระยะไกลจำเป็นต้องใช้เทคนิคพิเศษในการลดปัญหาข้อมูลผิดพลาดของการรับส่งสัญญาณ เครือข่ายแวนเป็นเครือข่ายที่ทำให้เครือข่ายแลนหลาย ๆ เครือข่ายเชื่อมถึงกันได้




            เครือข่ายนครหลวง (Metropolitan Area Network : MAN) เป็นเครือข่ายให้บริการสำหรับเมืองใหญ่ ๆ ที่พัฒนาจากระบบโทรทัศน์ทางสายหรือเคเบิ้ลทีวีในสมัยก่อน ระบบนี้ใช้สายโคแอกเชียลความเร็วสูงในการส่งสัญญาณโทรทัศน์ไปให้สมาชิกตามบ้านต่อมาพัฒนาให้รับส่งข้อมูลได้โดยทั่วไป รับส่งสัญญาณภาพเสียง และข้อมูล โดยมีวงจรอิเล็กทรอนิกส์รับส่งที่สามารถแยกสัญญาณนี้ออกจากกันทำให้บริการได้ทั้งเคเบิลทีวี วิทยุทางสายและเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์






          เครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) ได้รับการพัฒนามาจากเครือข่ายแวน เพื่องานวิจัยของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ที่เรียกว่า อาร์พาเน็ต ในปี ค.ศ. 1983 ได้ใช้มาตรฐาน TCP/IP เป็นมาตรฐานในการสื่อสารได้รับความนิยมอย่างมาก ทำให้เครือข่ายในองค์กรต่าง ๆ เข้าร่วมใช้งานกลายเป็นเครือข่ายทางไกลที่เชื่อมอยู่ระหว่างเครือข่ายจำนวนมาก อินเตอร์เน็ตทำให้เปิดโลกทัศน์ของผู้ได้กว้างไกลทำให้เกิดสภาวะที่เรียกว่า “โลกไร้พรมแดน” เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ครอบคลุมไปทั่วโลกซึ่งเกิดจากการเชื่อมโยงของเครือข่ายย่อยจำนวนมากที่กระจายอยู่ทั่วไปเครือข่ายเหล่านี้เชื่อมเข้าหากันภายใต้ กฎเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันจนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ โดยใช้มาตรฐานการเชื่อมต่อเดียวกัน ทั้งหมดเรียกว่า “ทีซีพี/ไอพี” ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันทางเทคโนโลยีสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันได้ ซึ่งมีลักษณะการเชื่อมต่อแบบสลับวงจรและสลับข้อมูล

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการรับส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การสื่อสารข้อมูลและสารสนเทศ


           ในยุคแรกของการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องโดยเอกเทศ คอมพิวเตอร์ในยุคนั้นจะทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลเพียงอย่างเดียวไม่มีหน้าที่ในการสื่อสารข้อมูล
 ต่อมาเมื่อมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างกว้างขวางมากขึ้นพบว่าการใช้งานในบางกรณีจำเป็นต้องมีจุดป้อนข้อมูลหรือเรียกดูข้อมูลหลายจุดพร้อมกัน ดังนั้นจึงเกิดระบบการใช้งานที่เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้ (Multi-user system) แต่กรณีนี้ยังเป็นการประมวลผลจากหน่วยประมวลผลกลางเพียงเครื่องเดียวแต่มีการติดตั้งเครื่องปลายทาง (Terminal) สำหรับป้อนข้อมูลและเรียกดูข้อมูลพร้อมกันได้หลายจุดเท่านั้น จึงยังไม่ถือเป็นระบบการสื่อสารข้อมูล
            ในยุคต่อมา เมื่อมีการนำคอมพิวเตอร์หลายเครื่องมาใช้งานที่อยู่ในระบบงานเดียวกันจึงพบว่ามีความจำเป็นต้องเชื่อมโยงข้อมูลที่ทำการประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์ต่างเครื่องกันเข้าด้วยกัน แรก ๆ ที่ทำโดยวิธีนิผลลัพธ์ที่ได้จากอุปกรณ์ส่งออกของคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปป้อนใหม่เป็นข้อมูลเข้าของคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง เมื่อต้องทำด้วยวิธีการที่ไม่สะดวกเช่นนี้บ่อย ๆ เข้าจึงเกิดแนวคิดที่จะพัฒนาระบบการสื่อสารข้อมูลขึ้น 



องค์ประกอบของการสื่อสาร


การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1. ระบบคอมพิวเตอร์
2. อุปกรณ์เชื่อมต่อ
3. ซอฟต์แวร์สำหรับการสื่อสารข้อมูล
4. เกณฑ์วิธี (Protocol) คือข้อกำหนดหรือระเบียบวิธีสำหรับการสื่อสารข้อมูลแบบนั้น ๆ
5. สื่อนำข้อมูล (Media) เช่น สายโทรศัพท์ เคเบิลใยแก้วนำแสงหรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น

ระบบสื่อสารข้อมูล
          การสื่อสารข้อมูล (Data Communication) หมายถึงการรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่อง (หรือสองระบบ) ขึ้นไปโดยเป็นการรับส่งข้อมูลผ่านระบบสายหรือระบบไร้สายก็ได้ แต่ข้อมูลที่รับส่งกันนั้นจะต้องอยู่ในรูปแบบรหัสดิจิตอล หรือสามารถแปลเป็นรูปแบบรหัสดิจิตอล เพื่อให้คอมพิวเตอร์ฝ่ายรับข้อมูลสามารถนำข้อมูลนั้นไปประมวลผลต่อได้
 การสื่อสารในระบบคอมพิวเตอร์ จำแนกลักษณะการใช้งานได้ 4 ประเภท
1. การจัดเก็บและการค้นคืนสารสนเทศ
2. คอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์
3. การรับและส่งผ่านสารสนเทศ
4. การแบ่งเวลาเครื่อง
          การจัดเก็บและการค้นคืนสารสนเทศ โดยใช้เทอร์มินัลส่งและรับสารสนเทศผ่านสายโทรศัพท์ชักันมากในธุรกิจการเงิน การธนาคาร และงานพัสดุ คอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ ใช้ในกรณีที่ต้องการฐานข้อมูลหรือส่งแฟ้มข้อมูล ระหว่างศูนย์คอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังศูนย์คอมพิวเตอร์อีกศูนย์หนึ่งผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ การรับและส่งผ่านสารสนเทศ โดยคอมพิวเตอร์ชนิดพิเศษทำหน้าที่เป็นสวิตซ์รับและส่งสารสนเทศตามจุดหมายปลายทางที่กำหนดทำให้สามารถบริการสารสนเทศจำนวนมาก ในเวลาจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ การแบ่งเวลาเครื่อง วิธีใช้เป็นการสื่อสารข้อมูลระดับสูง มีความซับซ้อนด้านเทคนิควิธีโดยเฉพาะระบบควบคุมศักยภาพของระบบนี้ได้แก่ การติดต่อสื่อสารสนเทศกับผู้ใช้ทางไกลตอบรับทันทีที่ผุ้ใช้ปลายทางร้องขอ บริการผู้ใช้หลายคนไดในเวลาเดียวกันอนุญาตให้ผู้ใช้ปลายทางใช้โปรแกรมแตกต่างได้
 องค์ประกอบการสื่อสารข้อมูลที่สำคัญ มี 3 ประการดังนี้

1. อุปกรณ์การแสดงสารสนเทศ ได้แก่ จอภาพคอมพิวเตอร์เทอร์มินัลชนิดต่าง ๆ เครื่องพิมพ์และหน่วยประมวลผลกลาง ฯลฯ
2. อุปกรณ์ส่งผ่านสารสนเทศ ได้แก่ อุปกรณ์ประเภทสาย (Wire) เช่น เคเบิล สาย Coaxial สายโทรศัพท์ Twisted-pair สายใยแก้วนำแสง Optical Fiber
3. อุปกรณ์สื่อสารข้อมูล ได้แก่ โมเด็ม (Modem) อุปกรณ์ประเภท Line Driver และ Multiplexer





          สรุป ระบบการสื่อสารข้อมูล การสื่อสารข้อมูลเป็นกระบวนการส่งผ่านและรับสารสนเทศระยะไกลในรูปแบบของสัญญาณแล้วแพร่กระจายผ่านช่องการสื่อสารต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรศัพท์ โทรเลข โทรศัพท์ โทรสาร และคอมพิวเตอร์ ฯลฯ

การสื่อสารและเครือข่ายสื่อสาร


          ความหมายของ “การสื่อสาร” การสื่อสาร หรือ การสื่อความหมาย (Communication) หมายถึง “พร้อมกัน” หรือ “ร่วมกัน” หมายความว่า เมื่อมีการสื่อสารระหว่างกันเกิดขึ้น คนเราพยายามที่จะสร้าง “ความพร้อมกันหรือความร่วมกัน” ทางด้านความคิด เรื่องราวเหตุการณ์ทัศนคติ ฯลฯ กับบุคคลที่เรากำลังสื่อสาร ดังนั้น การสื่อสารจึงหมายถึง การถ่ายทอดเรื่องราวการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแสดงออกของความคิดและความรู้สึก ตลอดรวมไปถึง “ระบบ” เพื่อการติดต่อสื่อสารข้อมูลซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ การสื่อสารยังหมายถึงการที่บุคคลในสังคมมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันโดยผ่านทางข้อมูลข่าวสาร สัญลักษณ์และเครื่องหมายต่าง ๆ ด้วย

           เครือข่ายสื่อสาร (Network) โดยทั่วไป จะหมายถึงรูปแบบของระบบสื่อสารและการเชื่อมโยงอุปกรณ์ผ่านส่งสัญญาณ การเชื่อมโยงแบบเครือข่ายเป็นการแบ่งปันการให้ทรัพยากรของระบบ เช่น สายส่งสัญญาณ ทำให้การลงทุนของระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล เครือข่ายสื่อสารที่เล็กที่สุดจะต้องมีจุดรับส่งอย่างน้อย 3 จุด โครงแบบของเครือข่ายที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมี 3 แบบ คือ
- แบบ Star
- แบบ Bus
- แบบ Ring
          แบบ Star มีหลักการส่งและรับข้อมูล เหมือนกับระบบโทรศัพท์การควบคุมจะทำโดยสถานีศูนย์กลางทำหน้าที่เป็นตัวสวิตชิ่ง ข้อมูลทั้งหมดในระบบเครือข่ายจะต้องผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางลักษณะการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายกับรูปดาว (STAR) หลายแฉก




          แบบ Bus ลักษณะการทำงานของเครือขายแบบ BUS คืออุปกรณ์ทุกชิ้นในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า “บัส” (BUS) แบบ BUS นับว่าเป็นแบบที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุด มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบดูแลรักษาและติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อน




 แบบ Ring เครือข่ายแบบ RING เป็นการส่งข้อมูลข่าวสารผ่านไปในเครือข่ายโดยที่ข้อมูลข่าวสารจะไหลวนอยู่ในเครือข่ายในทิศทางเดียวเหมือนวงแหวนหรือ RING~ นั่นเอง โดยไม่มีจุดปลาย






ประโยชน์ของสารสนเทศผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
          การประยุกต์ใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างกว้างขวางและสามารถใช้ประโยชน์ได้มากมายทั้งนี้เพราะเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้เกิดการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้ ตัวอย่างประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีดังต่อไปนี้
          1. การใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน การใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน บนเครือข่ายมีสถานีที่เป็นเครื่องให้บริการซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูลข่าวสารหรือข้อมูลใช้งาน แล้วให้ผู้ใช้ซึ่งเป็นเครื่องขอใช้บริการเรียกใช้ข้อมูล การเรียกใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน ทำให้การปรับปรุงข้อมูล การขอดู และการเรียกค้นกระทำได้ทันที เช่น เมื่อฝ่ายขายขายสินค้า ก็มีการลดจำนวนสินค้าออกจากบัญชีสินค้าคงคลัง เมื่อฝ่ายผลิตขอดูข้อมูลก็ได้ทราบข้อมูลที่เป็นปัจจุบันได้ทันทีว่ามีสินค้าเหลือเท่าไหร่ เนื่องจากเราสามารถใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลร่วมกัน
          2. การแบ่งปันทรัพยากรในเครือข่าย นอกจากที่เราจะใช้ฐานข้อมูลร่วมกันได้แล้ว เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นการประหยัดทรัพยากรเราสามารถใช้อุปกรณ์ร่วมกันได้ เช่น สมมติเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย 5 เครื่องทุกเครื่องสามารถสั่งพิมพ์กับเครื่องเดียวกันได้
          3. การติดต่อสื่อสารระหว่างกันบนเครือข่าย เมื่อมีการเชื่อมโยงสถานีงานหรือเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนที่อยู่บนเครือข่าย จะสามารถใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน สามารถส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกันตลอดจนสามารถโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันได้แต่การดำเนินการต่าง ๆ ควรเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่ผู้บริหารเครือข่ายหรือองค์กรกำหนดไว้
          4. สำนักงานอัตโนมัติ แนวคิดของสำนักงานสมัยใหม่ คือ การลดปริมาณการใช้กระดาษโดยการหันมาใช้ระบบการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ทันทีทันใด ปัจจุบันสำนักงานส่วนใหญ่ใช้ซอฟต์แวร์ประมวลคำพิมพ์งานเอกสาร ดังนั้นถ้ามีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร การสื่อสารส่งงานระหว่างกันที่เป็นกระดาษก็สามารถใช้สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์แทนได้ ระบบสำนักงานอัตโนมัติจึงเป็นระบบการทำงานที่ทุกสถานีงานเปรียบเสมือนโต๊ะทำงาน การทำงานแบบสำนักงานอัตโนมัติทำให้เกิดความคล่องตัวและรวดเร็ว

บทที่1คอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม

บทที่1คอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม

คอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม




คอมพิวเตอร์หมายถึง
 อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์(electronic device) ที่มนุษย์ใช่เป็นเครื่องมือในการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ ทั้งตัวเลข ตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่างๆ โดยคุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์คือการที่สามารถกำหนดชุดคำสั่งล่วงหน้าหรือโปรแกรมได้ (programmable) นั้นคือคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งที่เลือกมาใช้งาน ทำให้สามาถนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขว้ง เช่น ใช้ในการตรวจคลื่นความถี่ของหัวใจ การฝาก-ถอนเงินในธนาคาร การตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ เป็นต้น ข้อดีของคอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความถูกต้อง และรวดเร็ว
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์                                                   

     1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงสร้างสามารมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วน
   1. หน่วยรับคำสั่งหรือข้อมูล (Input Unit:IU)
ส่วนที่นำข้อมูลจากภายนอกเข้าสู้เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นตัวกลางเชื่อมโยงจากมนุษย์สู่เครื่องคอมพิวเตอร์ (เสมือนเป็นประสาทสัมผัสของคอมพิวเตอร์ ในการรับคำสั่งหรือข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลต่อไป) ตัวอย่างอุปกรณ์ เช่น เมาส์,คีย์บอร์ด,ไมค์,สแกนเนอร์, เครื่องอ่านรหัสบาร์โค้ด เป็นต้น
    2.หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit:CPU)
หน่วยประมวลผลกลางเป็นศูนย์กลางการประมวลผลของทั้งระบบ เปรียบเสมือนกองบัญชาการหรือส่วนศรีษะของมนุษย์ ที่มีผู้บัญชาการ หรือสมองอยู่ภายใน ภายในหน่วยประมวลผลกลางนี้ จะเป็นการทำงานประสานกันระหว่าง 2 ส่วนหลัก คือ ส่วนประมวลผล และส่วนความจำหลัก
    3.หน่วยความจำ (Memory Unit)
ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งหรือข้อมูล ในระหว่างการประมวลผล หรือที่ได้จากการประมวลผล แบ่งได้หลักๆดังนี้
          3.1หน่วยความจำหลัก (Main Memory) เป็นส่วนความจำพื้นฐานในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง เป็นหัวใจของการทำงานในรูปแบบอัตโนมัติ มีหน้าที่เก็บข้อมูลต่างๆที่ป้อนเข้ามาเพื่อให้ส่วนประมวลผลนำไปใช้ และเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับคุณสมบัติและระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
          3.2หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage) เป็นหน่วยความจำที่ใช้ในการเก็บชุดคำสั่งหรือข้อมูลไว้ เมื่อต้องการใช้งานหรือประมวลผลก็สามารถอ่านมาได้ มีราคาถูกกว่าหน่วยความจำหลัก เมื่อเทียบจากราคาต่อความจุ
4.หน่วยแสดงผล (Output Unit:OU)
ทำหน้าที่ในการแสดงผล สิ่งที่คอมพิวเตอร์ต้องการสื่อสารกับคน หรือเพื่อให้คนได้เข้าใจ
      2. ซอฟต์แวร์ (Software)
หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเสมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
    1.ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
ซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบ คือ ดำเนินงานพื้นฐานต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังแป้นพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำสำรอง
     2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่างๆตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุยันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่างๆ ออกมาจำหน่ายอย่างมากมาย
     3.บุคลากร
บุคลากร คือ คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างาบรื่น อาจจะประกอบด้วยคนเพียงคนเดียวหรือหลายคนช่วยกันรับผิดชอบโครงสร้างของหน่วยงานคอมพิวเตอร์
     4.ข้อมูล (Data)
เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่ต้องป้อนเข้าไปในคอมพิวเตอร์พร้อมกับโปรแกมที่นักคอมพิวเตอร์เขียนขึ้นเพื่อผลิตผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้กับคอทพิวเตอร์ได้มี 5 ประเภท
- ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data)
-ข้อมูลตัวอักษร (Text Data)
-ข้อมูลเสียง (Audio Data)
-ข้อมูลภาพ (Images Data)
-ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data)



ชนิดของคอมพิวเตอร์ 
คอมพิวเตอร์มีขนาดและความสามารถแตกต่างกันไป ด้านหนึ่งเป็น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มาก มีตัวประมวลผลที่เชื่อมโยงกันอยู่เป็นพันๆ ตัวที่รับหน้าที่ทำการคำนวณที่ซับซ้อนมาก ส่วนอีกด้านเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ฝังตัวอยู่ในรถยนต์ ทีวี ระบบสเตอริโอ เครื่องคิดเลข และเครื่องใช้ต่างๆ คอมพิวเตอร์เหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อทำงานแบบจำกัดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือ พีซี ได้รับการออกแบบให้ใช้ได้คราวละหนึ่งคน หัวข้อนี้จะอธิบายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลชนิดต่างๆ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ แล็ปท็อป คอมพิวเตอร์มือถือ และแท็บเล็ตพีซี

คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้บนโต๊ะ โดยทั่วไปจะมีขนาดใหญ่กว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลชนิดอื่นๆ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะประกอบด้วยชิ้นส่วนที่แยกออกจากกัน ส่วนประกอบหลักที่เรียกว่า หน่วยระบบ มักจะเป็นเครื่องทรงสี่เหลี่ยมซึ่งวางอยู่บนหรือใต้โต๊ะ ส่วนประกอบอื่นๆ เช่น จอภาพ เมาส์ และแป้นพิมพ์ จะเชื่อมต่อกับหน่วยระบบ






คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป
คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป เป็นพีซีแบบเคลื่อนที่ได้ มีน้ำหนักเบาและมีหน้าจอที่บาง หรือมักจะเรียกกันว่า คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เพราะมีขนาดเล็ก แล็ปท็อปสามารถทำงานโดยใช้แบตเตอรี ดังนั้นคุณจึงสามารถนำแล็ปท็อปไปได้ทุกที่ อย่างไรก็ตาม แล็ปท็อปจะไม่เหมือนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เนื่องจากจะรวม CPU หน้าจอ และแป้นพิมพ์ไว้อยู่ในตัวเครื่องเดียวกัน หน้าจอจะพับลงบนแป้นพิมพ์เมื่อไม่ได้ใช้งาน

คอมพิวเตอร์มือถือ
คอมพิวเตอร์มือถือ หรือที่เรียกว่า เครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัล (PDA) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ทำงานด้วยแบตเตอรีและเล็กพอที่จะพกพาไปได้ทุกที่ แม้ว่าประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์มือถือจะไม่เท่ากับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือแล็ปท็อป แต่คอมพิวเตอร์มือถือก็มีประโยชน์สำหรับการกำหนดการนัดหมาย การเก็บที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ รวมถึงการเล่นเกมต่างๆ คอมพิวเตอร์มือถือบางเครื่องมีประสิทธิภาพสูงกว่านั้น เช่น สามารถใช้โทรศัพท์หรือใช้อินเทอร์เน็ตได้ แทนที่จะใช้แป้นพิมพ์ คอมพิวเตอร์มือถือมีหน้าจอสัมผัสที่คุณสามารถใช้โดยใช้นิ้วมือ หรือ สไตลัส (อุปกรณ์ชี้ที่มีรูปร่างเหมือนปากกา)

แท็บเล็ตพีซี
แท็บเล็ตพีซี คือพีซีเคลื่อนที่ที่รวมคุณลักษณะของแล็ปท็อปและคอมพิวเตอร์มือถือเข้าด้วยกัน แท็บเล็ตพีซีเหมือนกับแล็ปท็อป คือมีประสิทธิภาพมากและมีหน้าจอแบบในตัว แท็บเล็ตพีซีเหมือนกับคอมพิวเตอร์มือถือตรงที่อนุญาตให้คุณเขียนบันทึกหรือวาดภาพบนหน้าจอ โดยทั่วไปโดยใช้ ปากกาแท็บเล็ต แทนที่จะเป็นสไตลัส นอกจากนี้ยังสามารถแปลงลายมือของคุณให้เป็นข้อความแบบพิมพ์ได้ แท็บเล็ตพีซีบางเครื่องเป็นแบบ "พับ" โดยมีหน้าจอที่หมุนได้และเปิดออกเพื่อให้เห็นแป้นพิมพ์ที่อยู่ด้านล่างได้
การทำงานของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตาม จะมีลักษณะการทำงานของส่วนต่างๆ
ที่มีความสัมพันธ์กันเป็นกระบวนการ  โดยมีองค์ประกอบพื้นฐานหลักคือ  Input  Process และ output   ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังภาพ

      ขั้นตอนที่ 1 : รับข้อมูลเข้า (Input)
เริ่มต้นด้วยการนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งสามารถผ่านทางอุปกรณ์ชนิดต่างๆ แล้วแต่ชนิดของข้อมูลที่จะป้อนเข้าไป เช่น   ถ้าเป็นการพิมพ์ข้อมูลจะใช้แผงแป้นพิมพ์ (Keyboard) เพื่อพิมพ์ข้อความหรือโปรแกรมเข้าเครื่อง   ถ้าเป็นการเขียนภาพจะใช้เครื่องอ่านพิกัดภาพกราฟิค (Graphics Tablet) โดยมีปากกาชนิดพิเศษสำหรับเขียนภาพ   หรือถ้าเป็นการเล่นเกมก็จะมีก้านควบคุม (Joystick) สำหรับเคลื่อนตำแหน่งของการเล่นบนจอภาพ เป็นต้น
      
ขั้นตอนที่ 2 : ประมวลผลข้อมูล (Process)
เมื่อนำข้อมูลเข้ามาแล้ว เครื่องจะดำเนินการกับข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับมาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่
ต้องการ การประมวลผลอาจจะมีได้หลายอย่าง เช่น นำข้อมูลมาหาผลรวม นำข้อมูลมาจัดกลุ่ม
นำข้อมูลมาหาค่ามากที่สุด หรือน้อยที่สุด เป็นต้น
    
ขั้นตอนที่ 3 : แสดงผลลัพธ์ (Output)
เป็นการนำผลลัพธ์จากการประมวลผลมาแสดงให้ทราบทางอุปกรณ์ที่กำหนดไว้   โดยทั่วไปจะแสดงผ่านทางจอภาพ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า "จอมอนิเตอร์" (Monitor) หรือจะพิมพ์ข้อมูลออกทางกระดาษโดยใช้เครื่องพิมพ์ก็ได้
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์             
ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและเป็นยุคสารสนเทศ ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็สะดวกสบายไปเสียหมด จะติดตามข่าวสารต่างๆ ก็สะดวกสบายขึ้น การติดต่อสื่อสารก็ง่ายขึ้น ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้ทุกอย่างนั้นสะดวกขึ้นเป็นอย่างมาก แม้กระทั่งการทำงานของเราก็ สะดวกขึ้น เพราะปัจจุบันนี้ ในการทำงานก็มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง ที่เห็นง่ายๆ เลย ก็คือ การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานเอกชนล้วนแล้วแต่นำคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานทั้งนั้น แล้วรู้กันหรือไหมว่า คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนั้นมีส่วนประกอบอะไรบ้าง และมีความสำคัญอย่างไร วันนี้เรามารู้จักกับคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่เราใช้งานกันอยู่ดีกว่า
1. โปรเซสเซอร์ (Processor) นั่นก็คือหน่วยประผลกลางหรือที่รู้จักกันในนามของซีพียู (CPU) นั่นเอง หรือเรียกว่าซิป ซึ่งส่วนนี้มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะว่ามีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามา ซึ่งซีพียูนั้นมีรุ่นต่างๆ ออกมาวางขายตามท้องตลาดมากมาย ซึ่งแต่ละรุ่นก็ราคาแตกต่างกันออกไป
2. หน่วยความจำ (Memory) หรือ RAM นั่นเอง ซึ่ง RAM นั้นเป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็นในการเก็บข้อมูลต่างๆ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหน่วยความจำสำรองนั่นเอง ก็คือจะเก็บข้อมูลชั่วคราว ซึ่งหน่วยความจำแรมจะทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ด้วย

3. ส่วนอินพุต/เอาต์พุต (Input/Output) ก็คืออุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสัมผัสและรับรู้สิ่งต่าง ๆ เช่น เครื่องอ่านบัตร คีย์บอร์ด เมาส์ สแกนเนอร์ และอุปกรณ์ Output ก็ได้แก่พวก เครื่องพิมพ์  จอภาพ

4.  สื่อจัดเก็บข้อมูล  (Stoจอภาพ หรือ monitor เป็นอุปกรณ์การแสดงผลที่สำคัญที่สุด จะเป็นส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้โดยตรง เพราะเราสามารถมองเห็นข้อมูลที่ที่แสดงผลได้โดยผ่านจอภาพของเรา จอภาพของคอมพิวเตอร์มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือจอแบบซีอาร์ที และจอแบบแอลซีดี ซึ่งจอภาพ 2 แบบนี้มีลักษณะที่แตกต่างกันในเรื่องของรูปแบบ นั้นก็คือจอแบบซีอาร์ที (CRT) ส่วนใหญ่เป็นจอภาพที่นิยมใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ มีขนาดใหญ่คล้ายโทรทัศน์ เมื่อก่อนได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่เมื่อจอภาพแบบแอลซีดี (LCD) เข้ามาแทน จอภาพแบบซีอาร์ทีก็เริ่มมีน้อยลงจนในปัจจุบันนี้เราแทบไม่เห็นร้านขายคอมพิวเตอร์มีจอแบบนี้วางขายอีกแล้ว ส่วนจอภาพแบบแอลซีดีนั้นมีทั้งแบบที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและในแบบของโน๊ตบุ๊ค เนื่องจากเป็นจอภาพที่มีขนาดรูปร่างที่บางทำให้สะดวกสำหรับการพกพาไปไหนมาไหน แต่จอภาพแบบแอลซีดีนี้ก็มีราคาที่แพงกว่าจอภาพแบบซีอาร์ที































วิชา เทคโนโลยีสาระสนเทศและการสื่อสาร นางสาวศิริลักษณ์ หิรัญ ปวส.1 .ชอD6